วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ปริมาณสารสัมพันธ์

                ปริมาณสารสัมพันธ์  คือ ความสัมพันธ์ระหว่างมวลหรือน้ำหนักของธาตุต่าง ๆ ของสารประกอบในปฏิกิริยาเคมี
ปริมาณสารสัมพันธ์มีประโยชน์ในแง่ของการคาดคะเนปริมาณของสารที่ต้องใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ต้อง
การ
            3.1 ระบบกับสิ่งแวดล้อม
                ระบบ คือ สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ภายในขอบเขตที่กำลังศึกษา ส่วนที่อยู่รอบ ๆ ระบบเรียกว่า สิ่งแวดล้อม
ระบบแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
                1. ระบบปิด (closed system) คือ ระบบที่มีการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายโอนพลังงานกับสิ่งแวดล้อมได้ แต่ถ่ายโอน
หรือแลกเปลี่ยนมวลกับสิ่งแวดล้อมไม่ได้ หรือมวลของระบบคงที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น การต้มน้ำในภาชนะปิดบน
เตาไฟ ระบบคือภาชนะที่มีน้ำบรรจุอยู่ภายใน ส่วนเตาไฟและอากาศที่ล้อมรอบทั้งหมดเป็นสิ่งแวดล้อม ระบบจะรับความ
ร้อนจากเตาไฟแล้วกลายเป็นไอคายพลังงานให้กับสิ่งแวดล้อม (มีการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายโอนพลังงาน) เมื่อชั่งน้ำหนักของ
ภาชนะที่บรรจุน้ำก่อนการต้มและหลังการต้มในภาชนะปิดจะเท่ากัน (มวลของระบบคงที่)
                2. ระบบเปิด (open system) คือ ระบบที่มีการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายโอนทั้งพลังงานและมวลให้กับสิ่งแวดล้อม หรือ
มวลของระบบไม่คงที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น การต้มน้ำในภาชนะเปิดบนเตาไฟ ระบบคือ ภาชนะเปิดที่มีน้ำบรรจุอยู่
เตาไฟและอากาศที่ล้อมรอบทั้งหมดคือสิ่งแวดล้อม ระบบที่มีการรับความร้อนจากเตาไฟและคายความร้อนให้กับสิ่งแวดล้อม
(มีการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายโอนพลังงาน) เมื่อชั่งน้ำหนักของภาชนะกับน้ำก่อนการต้มและหลังการต้มจะไม่เท่ากัน (มวลของ
ระบบไม่คงที่)
                3. ระบบโดดเดี่ยว (แยกตัวหรือเอกเทศ) คือ ระบบที่ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนพลังงานหรือมวลสารกับสิ่งแวดล้อม เช่น
น้ำร้อนในกระติกน้ำร้อน
            3.2 กฎต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง
            3.2.1 กฎทรงมวล
                                อองตวน  โลรอง ลาวัวซิเอ ได้ตั้งกฎทรงมวลซึ่งสรุปได้ว่า มวลของสารทั้งหมดก่อนทำปฏิกิริยาย่อมเท่ากับมวลของสารทั้งหมดหลังทำปฏิกิริยากฎนี้จะใช้ได้กับปฏิกิริยาเคมีในระบบปิด ใช้ไม่ได้กับปฏิกิริยาเคมีนิวเคลียร์ เช่น เทียนไข
ในภาชนะปิดใบหนึ่ง มวลของสารทั้งหมดก่อนทำปฏิกิริยาเท่ากับมวลของเทียนไขกับภาชนะ เมื่อจุดเทียนไขในภาชนะปิดนี้
แล้วทำการชั่งมวลใหม่ มวลจะเท่าเดิม (ระบบปิด)
            3.2.2 กฎสัดส่วนคงที่
                                โจเซฟ เพราสต์ ได้ตั้งกฎสัดส่วนคงที่ซึ่งสรุปได้ว่า ในสารประกอบหนึ่ง ๆ ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบ
รวมตัวกันด้วยอัตราส่วนโดยน้ำหนักที่คงที่เสมอโดยไม่คำนึงถึงว่าสารประกอบนั้นจะมีกำเนิดหรือเตรียมได้โดยวิธีใด
            3.3 มวลอะตอม
                อะตอมเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุที่สามารถทำปฏิกิริยาเคมีได้ มีรัศมีของอะตอมยาวประมาณ 10-10 เมตร
อะตอมที่เบาที่สุดมีมวลประมาณ 1.6 x 10-24 กรัม อะตอมที่หนักที่สุดมีมวลประมาณ 250 เท่า ซึ่งมีค่าน้อยมาก (เป็น
ผลคูณของ 10-24) มวลอะตอมเหล่านี้จะต้องรวมกันต่อไปเป็นมวลโมเลกุล ซึ่งทำให้ยุ่งยากในการคำนวณ จึงนิยมใช้
มวลเปรียบเทียบที่เรียกว่า มวลอะตอมหรือน้ำหนักอะตอม
                                มวลอะตอมของธาตุ =

                มวลอะตอม  คือ มวลเปรียบเทียบที่บอกให้ทราบว่ามวลของธาตุ 1 อะตอมหนักเป็นกี่เท่าของมวลของ
ธาตุมาตรฐาน 1 อะตอม
                มวลของธาตุ 1 อะตอม คือ มวลที่แท้จริงของอะตอมนั้น ๆ 1 อะตอม
                มวลของธาตุมาตรฐาน 1 อะตอม คือ มวลของธาตุที่ถูกใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ ซึ่งทุกอะตอมต้องมีค่าเท่ากันหมด
จึงเรียกว่ามวลมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 1.66 x 10-24 กรัมหรือ 1 amu (atomic mass unit)
                ถ้ากำหนดให้มวลอะตอมของธาตุ H = 1  จากสูตรการหามวลอะตอมของธาตุ มวลของธาตุ H  1 อะตอม
= 1.66 x 10-24 กรัม ดังนั้นจึงเขียนสูตรใหม่ได้ดังนี้
                                มวลอะตอมของธาตุ =
                (เพราะมวลของธาตุมาตรฐาน 1 อะตอมเท่ากับมวลของธาตุไฮโดรเจน 1 อะตอม)
                ในทำนองเดียวกัน ถ้ามวลอะตอมของ C = 12  จากสูตรการหามวลอะตอมของธาตุ มวลของธาตุ C 1 อะตอม
= 12 x 1.66 x 10-24 กรัม ถ้าใช้มวลของธาตุ C 1 อะตอมเป็นค่ามาตรฐานจะได้สูตร
                                มวลอะตอมของธาตุ  =
                มวลของธาตุมาตรฐาน 1 อะตอมต้องคูณด้วย    เพราะมวลของ C  1 อะตอม = 12 x 1.66 x 10-24 กรัม
                        ต้องทำให้มวลของธาตุมาตรฐานมีค่าเท่ากันหมด และเท่ากับ 1.66 x 10-24 กรัม
                ในทำนองเดียวกัน ถ้ามวลอะตอมของ O และ N เท่ากับ 16 และ 14 ตามลำดับ จะได้สูตรดังนี้
                                มวลอะตอมของธาตุ =
                                มวลอะตอมของธาตุ =
                นอกจากนี้มวลอะตอมยังคำนวณได้จากมวลเฉลี่ยของบรรดาไอโซโทปที่มีในธรรมชาติ
                                มวลอะตอมเฉลี่ย =
                ลักษณะสำคัญของมวลอะตอม มีดังนี้
                1. มวลอะตอมของธาตุไม่มีหน่วย
                2. มวลอะตอมเป็นค่าเปรียบเทียบ ส่วนมวลของธาตุ 1 อะตอมเป็นมวลที่แท้จริง มีหน่วยเป็นกรัม
                3. มวลของธาตุมาตรฐาน 1 อะตอม ที่ใช้เป็นตัวถูกเปรียบเทียบของมวลอะตอมมีค่าเท่ากันหมดในทุก ๆ
ธาตุ
                4. คำนวณได้จากสูตรเมื่อทราบมวลของธาตุนั้น 1 อะตอม และคำนวณได้จากไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ
            การคำนวณมวลอะตอมของธาตุ
                แบบที่ 1  เมื่อกำหนดมวลของธาตุ 1 อะตอม และมวลของธาตุมาตรฐาน 1 อะตอมมาให้

ตัวอย่างที่ 3.1  ธาตุ A 1 อะตอม หนัก 16 หน่วยน้ำหนัก ธาตุ  12C  1 อะตอม หนัก 12 หน่วยน้ำหนัก จงหามวล
อะตอมของธาตุ A
วิธีทำ    จากสูตร มวลอะตอมของธาตุ   =
                                                                  =
                (เมื่อใช้ธาตุ 12C 1 อะตอมเป็นธาตุมาตรฐาน)
                                                                  =                = 16
                ดังนั้น มวลอะตอมของธาตุ A  = 16                                                                                                    ตอบ
                แบบที่ 2  เมื่อทราบมวลอะตอมของแต่ละไอโซโทปและปริมาณในธรรมชาติ
ตัวอย่างที่ 3.2 จงหามวลอะตอมเฉลี่ยของแมกนีเซียม เมื่อกำหนดมวลอะตอมและปริมาณของแต่ละไอโซโทป
มาให้ดังต่อไปนี้
                               
ไอโซโทป
มวลอะตอม
ปริมาณในธรรมชาติ (%)
24Mg
25Mg
26Mg
23.9850
24.9858
25.9826
78.70
10.13
11.17

วิธีทำ  มวลอะตอมเฉลี่ย      =
                                                =
                                                = 24.310
                ดังนั้น มวลอะตอมของแมกนีเซียมเท่ากับ 24.310                                                                            ตอบ
                แบบที่ 3 หาจำนวนอะตอมจากมวลอะตอม
ตัวอย่างที่ 3.3 ธาตุแมกนีเซียมมีมวลอะตอม = 24 จงหาจำนวนอะตอมของธาตุแมกนีเซียม 2.4 กรัม
วิธีทำ  มวลอะตอมของธาตุ                 =
                                      24     =
                มวลของธาตุ 1 อะตอม = 24 x 1.66 x 10-24   กรัม
                หรือ ธาตุ Mg 24 x 1.66 x 10-24  g คิดเป็น = 1 atom
                        ธาตุ Mg 2.4                         g คิดเป็น =
                                                                                       = 6.02 x 1022  atom
                ดังนั้น ธาตุแมกนีเซียม 2.4 กรัมมี 6.02 x 1022 อะตอม                                                                      ตอบ
3.4 ขนาดโมเลกุล
                โมเลกุล คือ หน่วยโครงสร้างที่เล็กที่สุดของธาตุที่สารประกอบที่สามารถอยู่ได้เป็นอิสระ และยังคงแสดงสมบัติ
ของธาตุหรือสารประกอบนั้น ๆ โดยสมบูรณ์ โมเลกุลเกิดจากอะตอมรวมกัน
                โมเลกุลไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงทำให้การประมาณขนาดโมเลกุลยุ่งยาก เราจึงสมมติให้โมเลกุล
เป็นวัตถุที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้
                สมมติให้โมเลกุล 1 โมเลกุลคือลูกเต๋า 1 ลูก (เมื่อโมเลกุลเป็นรูปลูกบาศก์) นำเอาลูกเต๋าหลาย ๆ ลูกมาเรียงตัว
เป็นชั้นเดียว จะพบว่า
                ความสูงของชั้น = ด้าน 1 ด้านของลูกเต๋า 1 ลูก
                                          = ด้าน 1 ด้านของโมเลกุล (เมื่อโมเลกุลเป็นรูปลูกบาศก์)
                จากสูตร ปริมาตรของรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์  = (ด้าน)3
                ดังนั้น ปริมาตรของ 1 โมเลกุล = (ความสูงของชั้น)3
                สมมติให้ลูกแก้ว 1 ลูก คือโมเลกุล 1 โมเลกุล (เมื่อโมเลกุลเป็นรูปทรงกลม) นำเอาลูกแก้วหลาย ๆ ลูกมาเรียง
ตัวเป็นชั้นเดียว จะพบว่า
                ความสูงของชั้น   =   เส้นผ่านศูนย์กลางของลูกแก้ว 1 ลูก
                                            =  เส้นผ่านศูนย์กลางของโมเลกุล 1 โมเลกุล
                จากสูตร ปริมาตรของทรงกลม =         เมื่อ  r คือรัศมีของรูปทรงกลม
                ปริมาตรของ 1 โมเลกุล            =         
                                                                    =
                จะเห็นได้ว่าเมื่อโมเลกุลเป็นรูปลูกบาศก์หรือรูปทรงกลมจะต้องใช้ความสูงของชั้นในการคำนวณในสูตรต่าง ๆ
ดังนั้น ถ้าเราสามารถหาความสูงของชั้นได้ เราจะหาขนาดของโมเลกุลได้ ความสูงของชั้นอาจหาได้จากปริมาตรรวม
ดังสูตร
                                ปริมาตรรวม = พื้นที่หน้าตัด x ความสูงของชั้น
                ในการหาขนาดโมเลกุลของกรดโอเลอิกโดยประมาณทำได้โดยโรยผงชอล็กบาง ๆ ลงบนผิวน้ำในถาดแล้วหยด
สารละลายกรดโอเลอิกในเอทานอลลงไป 1 หยด
                ความเข้มข้นของสารละลายกรดโอเลอิกในเอทานอล a เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร
                เส้นผ่านศูนย์กลางของวงที่หยดลงแผ่ออกได้ d เซนติเมตร
                สารละลายกรดโอเลอิก 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร มี x หยด
                สมมติให้โมเลกุลของกรดโอเลอิกเรียงตัวกันเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ ชั้นเดียว จงหาปริมาตรของ 1 โมเลกุลโดยประมาณ
เมื่อโมเลกุลเป็นรูปลูกบาศก์หรือรูปทรงกลม
            หารปริมาตรรวม
                ในสารละลายกรดโอเลอิก x หยด คิดเป็น  1 cm3
                ในสารละลายกรดโอเลอิก 1 หยด คิดเป็น      cm3
                ความเข้มข้นของสารละลายกรดโอเลอิก a เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร
                ในการละลายกรดโอเลอิก 100 cm3  มีกรดโอเลอิก = a cm3
                ในสารละลายกรดโอเลอิก     cm3  มีกรดโอเลอิก =       cm3
            หาพื้นที่หน้าตัด
                เมื่อหยดกรดโอเลอิกลงบนน้ำในถาด พื้นที่หน้าตัดจะเป็นวงกลม
                สูตรของพื้นที่วงกลม
                                พื้นที่วงกลม           =
                เส้นผ่าศูนย์กลางของวงแผ่ออกได้ 2 cm3
                                พื้นที่หน้าตัด           =
                                                                =
            หาความสูงของชั้น
                                ปริมาตรรวม          = ความสูงของชั้น x พื้นที่หน้าตัด
                                                                = ความสูงของชั้น x
                                ความสูงของชั้น     =
                เมื่อโมเลกุลเป็นรูปลูกบาศก์
                ปริมาตร 1 โมเลกุล (โดยประมาณ)  =
                เมื่อโมเลกุลเป็นรูปทรงกลม
                ปริมาตรของ 1 โมเลกุล (โดยประมาณ) =

            3.5 มวลโมเลกุล
                เนื่องจากโมเลกุลมีขนาดเล็กมากเช่นเดียวกับอะตอม ดังนั้น มวลของโมเลกุลจึงนิยมบอกเป็นค่าเปรียบเทียบ
เช่นกัน
                มวลโมเลกุลของสาร     =
                                                       =
                                                       =
            3.5.1 ลักษณะสำคัญของมวลโมเลกุล
                1. มวลโมเลกุลไม่มีหน่วย เพราะเป็นค่าเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน
                2. มวลของสาร 1 โมเลกุล คือมวลที่แท้จริงของโมเลกุลนั้น ๆ 1 โมเลกุล
                3. มวลโมเลกุลคำนวณได้จากมวลอะตอมรวมกัน เพราะโมเลกุลเกิดจากอะตอมรวมกัน หรือได้จากมวลของสาร
1 โมเลกุล เปรียบเทียบค่ามาตรฐาน
                4. มวลมาตรฐานที่ถูกเปรียบเทียบต้องมีค่าเท่ากันหมดในทุก ๆ โมเลกุล
            3.5.2 การคำนวณมวลโมเลกุลของสาร
                แบบที่ 1  เมื่อรู้มวลอะตอมของอะตอมที่ประกอบกันเป็นโมเลกุล
                                มวลโมเลกุลของสาร = มวลอะตอมของธาตุในโมเลกุลรวมกัน
ตัวอย่างที่ 3.4   จงหามวลโมเลกุลของ CaSO4 . 2H2กำหนดมวลอะตอมของ Ca = 40, S = 32, O = 16  และ H = 1
วิธีทำ   มวลโมเลกุลของ CaSO4 . 2H2O  = มวลอะตอมของทุกธาตุใน CaSO4 . 2H2O รวมกัน
                                                                     = 40+32+(16 x 4)+2(2)+2(16)
                                                                     = 40+32+64+4+32 = 172
                ดังนั้น มวลโมเลกุลของ CaSO4 . 2H2O = 172                                                                                   ตอบ
                แบบที่ 2 เมื่อทราบมวลของสาร 1 โมเลกุล และมวลของธาตุมาตรฐาน 1 อะตอม
ตัวอย่างที่ 3.5  จงหามวลโมเลกุลของออกไซด์ของธาตุ X เมื่อออกไซด์ของธาตุ X 10 โมเลกุล หนัก a กรัมและมวลของ
12C  1 อะตอม  หนัก b กรัม
วิธีทำ    ออกไซด์ของธาตุ X 1 โมเลกุล หนัก    =         กรัม
                มวลโมเลกุลของออกไซด์ของธาตุ X   =
                                                                            =
                                                                            =         
                ดังนั้น มวลโมเลกุลของออกไซด์ของธาตุ  X  =                                                                                  ตอบ
                นอกจากนี้ยังมีการหาโมเลกุลได้จากวิธีอื่น ๆ อีก เช่น หาจากโมลหรือจากกฎของอาโวกาโดร เป็นต้น
            3.6 โมล
                โมล คือ หน่วยของปริมาณสารหน่วยหนึ่งที่มีความหมายเช่นเดียวกับกรัมโมเลกุล กรัมอะตอมหรือกรัม
ไอออน มีวิธีหาได้ 4 แบบ ดังต่อไปนี้
            3.6.1 จำนวนอนุภาคต่อโมลของสาร
                สสารทุกชนิด 1 โมลมีจำนวน 6.023 x 1023  อนุภาค (6.023 x 1023 คือเลขอาโวกาโดร)


                อนุภาค คือ อะตอมโมเลกุล ไอออน อิเล็กตรอน เป็นต้น
-          ธาตุ  เช่น Na 1 โมล มีจำนวน 6.023 x 1023 โมเลกุล หรือ 6.023 x 1023 อะตอม
                       Na+ 1 โมล มีจำนวน 6.023 x 1023 ไอออน
                         Cl2 1 โมล มีจำนวน 6.023 x 1023 โมเลกุล หรือ 2 x 6.023 x 1023 อะตอม ( 1 โมเลกุลมี 2 อะตอม),
Cl- 1 โมล มีจำนวน 6.023 x 1023 ไอออน
-          สารประกอบ  เช่น SO3 1 โมล มีจำนวน 6.023 x 1023 โมเลกุล หรือ 4 x 6.023 x 1023 อะตอม
(SO3  1 โมเลกุลประกอบด้วย H 2 อะตอม S 1 อะตอม และ O 4 อะตอม รวมเป็น 7 อะตอม)
            3.6.2 จำนวนโมลกับมวลของสาร
                                                                โมล =
                                                                โมล =
                                                                1     =
                มวลโมเลกุลหรือมวลอะตอม = มวล(กรัม)
                ดังนั้น มวลหรือน้ำหนักของสาร 1 โมล คือมวลโมเลกุลหรือมวลอะตอม ตัวอย่างเช่น O2  1 โมล หนัก 32 กรัม
จงหามวลโมเลกุลของก๊าซออกซิเจน เมื่อกำหนดให้มวลอะตอมของ O = 16
                                                                โมล =
                                                                  1   =
                ดังนั้น มวลโมเลกุลของก๊าซออกซิเจน = 32
                จะเห็นว่ามวลโมเลกุลของก๊าซออกซิเจนมีค่าเท่ากับน้ำหนักของก๊าซออกซิเจน
            3.6.3 ปริมาตรต่อโมลของก๊าซ
                ก๊าซทุกชนิด 1 โมล มี  22.4 ลูกบาศก์เซนติเมตรที่ STP คือที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน (ที่ 0 องศาเซลเซียส
1 บรรยากาศ หรือ 273 เคลวิน 760 มิลลิเมตรของปรอท)
                ตัวอย่างเช่นไอน้ำ 1 โมล มีปริมาตร 22.4 ลูกบาศก์เดซิเมตร ที่ STP
            3.6.4 ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโมล อนุภาค มวล และปริมาตร
                สาร 1 โมลจะมีมวลเป็นกรัมเท่ากับมวลอะตอมและมีจำนวนอนุภาคเท่ากับ 6.023 x 1023 อนุภาค และถ้าสารนั้น
เป็นก๊าซที่ STP จะมีปริมาตรเท่ากับ 22.4 ลูกบาศก์เดซิเมตร
                ตัวอย่างเช่น ไอน้ำ 18 กรัมมีปริมาตร 22.4 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่ STP มีจำนวนอนุภาคเท่ากับ 6.023 x 1023
อนุภาค
ตัวอย่างที่ 3.6 จงหาปริมาตรที่ STP ของก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) 7.3 กรัม
                                โมล =
                                       =
                ก๊าซ HCl 1 โมล มีปริมาตร 22.4 dm3 ที่ STP
                ก๊าซ HCl 0.2 โมล มีปริมาตร 22.4 x 0.2 = 4.48 dm3 ที่ STP
                ดังนั้น ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ 7.3 g มีปริมาตร 4.48 dm3 ที่ STP



            3.6.5 กฎของอาโวกาโดร
                โมลของก๊าซหาได้จากกฎของอาโวกาโดร กฎของอาโวกาโดรสรุปว่า ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน (อุณหภูมิและความดัน)
ก๊าซทุกชนิดที่มีปริมาตรเท่ากันจะมีจำนวนโมเลกุลและจำนวนโมลเท่ากัน เช่น ก๊าซออกซิเจน 1 ลูกบาศก์เดซิเมตร จะมีจำนวน
โมลและโมเลกุลเท่ากับก๊าซไฮโดรเจน 1 ลูกบาศก์เดซิเมตร ที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน และยังเท่ากับจำนวนโมลและโมเลกุลชองก๊าซอื่น ๆ ที่มีปริมาตรเท่ากันภายใต้อุณหภูมิและความดันเดียวกัน

ตัวอย่างที่ 3.7 ที่สภาวะมาตรฐาน ก๊าซออกซิเจน 1 ลูกบาศก์เดซิเมตร หนัก 1.43 กรัม และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ 1
ลูกบาศก์เดซิเมตร หนัก 1.25 กรัม จงหามวลโมเลกุลของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
วิธีทำ   จากกฎของอาโวกาโดร ก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีปริมาตรเท่ากันที่สภาวะมาตรฐานเหมือนกัน
              มีจำนวนโมลและโมเลกุลเท่ากัน
                    จำนวนโมลของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ = จำนวนโมลของก๊าซออกซิเจน
                                                                                       =
                                                                                       =
                                                                                       =
                ดังนั้น มวลโมเลกุลของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ = 28                                                                     ตอบ

            3.7 สูตรเคมีและสมการเคมี
            จำนวนโมลหาได้จากกฎของเกย์-ลูสแซกและกฎของอาโวกาโดร การหาจำนวนโมลโดยวิธีนี้เป็นการหาจำนวนโมล
ของสมการเคมี
                กฎของเกย์-ลูสแซกสรุปว่า ปริมาตรของก๊าซที่ทำปฏิกิริยากันและที่ได้จากปฏิกิริยาจะเป็นอัตราส่วนลงตัวน้อย ๆ
ที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน
                ตัวอย่างเช่น ก๊าซไนโตรเจน (N2) 10  ลูกบาศก์เดซิเมตร ทำปฏิกิริยาพอดีกับก๊าซไฮโดรเจน (H2) 30
ลูกบาศก์เดซิเมตรจะเกิดก๊าซแอมโมเนีย (NH3) 20  ลูกบาศก์เดซิเมตร
                               
                            10         30         20         dm3       กฎของเกย์-ลูสแซก
                          1         3         2         dm3       (ที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน)

                จากกฎของอาโวกาโดร : ที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน
                ถ้า  N2(g)  1  dm3  คิดเป็น 1 โมลหรือ 1 โมเลกุล
                      H2(g)  1 dm3   คิดเป็น 1 โมลหรือ 1 โมเลกุล
                      H2(g)  3 dm3   คิดเป็น 3 โมลหรือ 3 โมเลกุล
                      NH3    1 dm3   คิดเป็น 1 โมลหรือ 1 โมเลกุล
                      NH3(g)  2 dm3   คิดเป็น 2 โมลหรือ 2 โมเลกุล
                               
1           3         2         โมล (โมเลกุล) กฎของอาโวกาโดร
                                                            (ที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน)
                จากกฎของเกย์-ลูกแซกและกฎของอาโวกาโดร สรุปได้ว่า อัตราส่วนอย่างต่ำ (โดยปริมาตร) ของก๊าซที่เข้าทำ
ปฏิกิริยากันและที่ได้จากปฏิกิริยาจะเท่ากับจำนวนโมลหรือจำนวนโมเลกุลของก๊าซนั้น
ลักษณะสำคัญของกฎของเกย์-ลูสแซกและกฎของอาโวกาโดร
1. จำนวนโมลและโมเลกุลของสมการเคมีจะมีค่าเท่ากับปริมาตรของก๊าซที่เข้าทำปฏิกิริยาพอดีกันนั่นเอง
2. จำนวนโมลเหล่านี้คือตัวเลขที่ใช้ในการดุลสมการเคมี
เช่น          4NH3(g) +3O2(g)             2N2(g)+6H2O(g)
3. จากปริมาตรของก๊าซที่ทำปฏิกิริยาพอดีกันและที่ได้จากปฏิกิริยาที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน สามารถนำ
ไปใช้หาสูตรโมเลกุลของก๊าซได้ โดยอาศัยหลักการดุลสมการเคมี
ตัวอย่างที่ 3.8 ก๊าซ X 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร ทำปฏิกิริยาพอดีกับก๊าซ Y 45 ลูกบาศก์เซนติเมตร เกิดก๊าซ Z เพียงอย่างเดียว
30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ปริมาตรของก๊าซทั้งหมดวัดที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน  จงหาสูตรโมเลกุลของก๊าซ  Z
วิธีทำ   เมื่อก๊าซ X และ Y ทำปฏิกิริยากันได้ก๊าซ Z เพียงอย่างเดียว ดังนั้น ก๊าซ  Z จะต้องมีธาตุ X และ Y เป็นองค์ประกอบ
            ดังสมการ
                                                                X2(g) + Y2(g)           XaYb(Z)
                                                                15         45                     30         cm3           (จากกฎเกย์-ลูสแซก)
                                                 1         3                     2          cm3            (ที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน)
                                                 1         3                    2          mol       (จากกฎอาโวกาโดร ที่อุณหภูมิและ
                                                                                                                                    ความดันเดียวกัน)
                                                                1X2(g) + 3Y2(g)            2 XaYb
                เมื่อดุลสมการเคมี จำนวนอะตอมทั้ง 2 ข้างต้องเท่ากัน a = 1, b = 3
                ดังนั้น สูตรของ Z คือ XY3                                                                                                                     ตอบ
                4. จากสมการแสดงปฏิกิริยาเคมีของก๊าซที่ดุลแล้ว อัตราส่วนจำนวนโมลหรือจำนวนโมเลกุลจะเท่ากับอัตราส่วน
โดยปริมาตรของก๊าซที่เข้าทำปฏิกิริยากันและที่ได้จากปฏิกิริยา สามารถนำไปใช้หาปริมาตรของก๊าซต่าง ๆ ในปฏิกิริยาเคมี
นั้น  ๆ ได้

ตัวอย่างที่ 3.9 ก๊าซผสมระหว่างก๊าซมีเทน (CH4) กับก๊าซโพรเพน (C3H8) อย่างละ 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะต้องใช้ก๊าซ
 ออกซิเจนกี่ลูกบาศก์เซนติเมตรจึงจะทำปฏิกิริยาพอดีกับก๊าซผสมนี้ กำหนดสมการเคมีของปฏิกิริยาเคมีดังนี้
                                                                CH4(g) + O2(g)            H2O(g) + CO2(g)                          …………..(1)
                                                                C3H8(g) + O2(g)            H2O(g) + CO2(g)                         …………..(2)









วิธีทำ   จากสมการ (1) ดุลสมการได้ดังนี้
                                                CH4(g) + 2O2(g)            2H2O( ) + CO2(g)      
                                                1          2                      2          1          mol   กฎอาโวกาโดร
                                    1          2                      2          1          mol   และกฎเกย์-ลูสแซก


                CH4    1   cm3 ทำปฏิกิริยาพอดีกับก๊าซออกซิเจน = 2 cm3
                CH4   15  cm3 ทำปฏิกิริยาพอดีกับก๊าซออกซิเจน = 15 x 2 = 30 cm3
จาก (2) ;
                                                C3H8(g) + 5O2(g)            4H2O(g) + 3CO2(g)
                                                1              5                              4              3              mol
                                                1              5                              4              3              cm3

C3H8   1 cm3 ทำปฏิกิริยาพอดีกับก๊าซออกซิเจน = 5 cm3
C3H8   15  cm3  ทำปฏิกิริยาพอดีกับก๊าซออกซิเจน = 15 x 5 = 75  cm3
      ต้องใช้ก๊าซออกซิเจนทั้งหมด = 30 = 75 = 105 cm3                                                                    ตอบ